Pump Guru

Home / Pump Guru


Pump in Series – For More Pressure [22 December 2021]

ในการเลือกปั๊มให้เข้ากับระบบของเราในบางครั้ง อาจพบกรณีที่ตัวเลือกปั๊มที่มีอยู่ ไม่สามารถทำความดันได้สอดคล้องกับอัตราการไหลที่เราต้องการได้ ซึ่งการค่าความดันภายในระบบของเราเกิดจากความดันสถิต (Static Pressure) หรือความสูญเสียที่เกิดจากความแตกต่างของระดับความสูง รวมกับความเสียดทานภายในท่อ หรือความสูญเสีย และการเปลี่ยนแปลงความเร็วที่อัตราการไหลนั้น ๆ

 

ถ้าหากเป็นการใช้งานที่ต้องการปั๊มแบบการขจัดเป็นบวก (Positive Displacement Pump) ทางผู้ผลิตปั๊มก็จะแนะนำปั๊มขนาดต่าง ๆ กันที่ออกแบบมาสำหรับค่าความดันสูงสุดที่ต้องการ แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ได้อัตราการไหลตามที่ออกแบบ อาจต้องใช้ปั๊มมากกว่า 1 ตัว ประกอบเป็นระบบปั๊มแบบขนาน เพื่อให้ได้อัตรากการไหลตามที่ต้องการ

 

กลับกันหากเปลี่ยนเป็นปั๊มหอยโข่ง (Centrifugal Pump) สำหรับปั๊มหอยโข่งแบบ Single-Stage อาจไม่สามรถทำความดันได้ตามอัตราการไหลที่เราออกแบบ จึงมีการใช้งานปั๊มหอยโข่งแบบ Multi-Stage ซึ่งเป็นปั๊มทีมีใบพัดมากกว่า 1 ใบ บนเพลาขับอันเดียว แต่ละใบจะสร้างอัตราการไหลที่เท่ากัน และเพิ่มความดันตามที่เราต้องการได้ ซึ่งในหลาย ๆ การใช้งานก็ยุติการค้นหาที่ตรงนี้ ปั๊มหอยโข่งที่เป็น Multi-stage  ก็มีหลากหลายประเภท ได้แค่ End Suction, Double Suction, Vertical Turbine และ Regenerative Pumps

 

อย่างไรก็ตาม การออกแบบบางอย่างก็จะมีเพียงแค่ปั๊มหอยโข่งแบบ Single-Stage เท่านั้น ยกตัวอย่างเข่น Non-Clog สำหรับรับมือสารที่มีของแข็ง, ปั๊มโคลน (Slurry Pump) หรือ Rubber Lined Pump ซึ่งสำหรับปั๊มเหล่านี้ การทำความดันให้ได้ตามที่ออกแบบ ก็อาจต้องใช้งานปั๊ม 2 ตัว หรือมากกว่า ต่อกันแบบอนุกรมกัน (สำหรับปั๊มน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เป็นผลิตภัณฑ์ที่ค่อนข้างพิเศษและขอไม่กล่าวถึงในบทความนี้)

 

อย่างที่ได้เคยกล่าวไว้แล้วในบทความ Pump in Parallel: ทำความรู้จักกับการต่อปั๊มแบบขนาน ว่าอัตราการไหลของปั๊มทั้งสองจะรวมกัน ที่ความดันเดียวกัน ประกอบกันเป็นกราฟประสิทธิภาพเส้นใหม่ เช่นเดียวกัน ความดันของปั๊มทั้งสองตัวจะรวมกัน ที่อัตราการไหลเดียวกัน


รูปแบบที่ง่ายที่สุดสำหรับปั๊มหอยโข่ง ซึ่งทำงานในระบบปั๊มแบบอนุกรมโดยปั๊มที่เหมือนกัน 2 ตัว ด้านจ่ายของปั๊มตัวแรก จ่ายไปยังด้านดูดของปั๊มตัวถัดไป เพื่อจ่ายให้แก่ระบบ และเนื่องจากปั๊มทั้ง 2 ตัวเหมือนกัน แต่ละตัวก็จะสร้างความดันที่เท่ากัน

 

ปั๊มตัวที่ 2 ควนจะต้องมีการออกแบบให้สามารถรับความดันด้านเข้าและด้านจ่ายได้สูงกว่าปั๊มตัวแรก เพราะว่า แรงดันบริเวณห้องซีล (Stuffing Box, Seal Chamber) จะมีค่าค่อนข้างสูง จากแรงดันขาเข้าที่จ่ายมาจากปั๊มตัวแรก ท่อระหว่างปั๊มทั้งสองควรจะเป็นท่อตรง และควรมีขนาดไม่เล็กไปกว่าท่อด้านข้าวของตัวปั๊ม

 

แนวคิดการต่อปั๊มแบบอนุกรม จะยิ่งซับซ้อนยิ่งขึ้นหากเป็นปั๊มที่อยู่คนละสถานีปั๊มกัน (Pump Station; PS) ปั๊มระหว่าง 2 สถานีจะต้องถูกควบคุมอย่างระมัดระวัง และปั๊มใน PS1 จะต้องถูกออกแบบให้สามารถส่งผ่านของเหลวไปยังท่อดูดของปั๊มใน PS2 ได้อย่างเพียงพอ และปั๊มใน PS2 ก็ยังต้องถูกออกแบบให้จ่ายไปยังที่หมายตามอัตราการไหลที่ต้องการอีกด้วย ในอุดมคติแล้ว สถานีปั๊ม PS2 ควรจะถูกวางอยู่ในตำแหน่งที่ค่าความดันที่ปั๊มในแต่ละสถานี PS1 และ PS2 ต้องทำ มีค่าเท่ากัน และถ้า PS1 และ PS2 อยู่ห่างกันมาก ๆ  ควรพิจารณาติดตั้ง Surge Tower หรือ Standpipe ที่หน้าปั๊มของปั๊มใน PS2 ด้วย เพื่อให้ออกแบบระบบได้ง่ายขึ้น

 

และถ้าหากว่าต้องใช้วิธีการจ่ายของเหลวจากปั๊มตัวแรก ไปยังปั๊มตัวที่สองโดยตรง แรงดันสุทธิที่ปั๊มทั้ง 2 ตัวทำได้ จะต้องมีการคำนวณอย่างแม่นยำที่อัตราการไหลที่เราต้องการ ปั๊มตัวแรกจะต้องออกแบบให้จ่ายของเหลว ให้เพียงพอกับค่า NPSHr (Net Positive Suction Head Required) ของปั๊มตัวที่ 2 และปั๊มตัวที่สอง ก็ต้องออกแบบให้ได้ตามความต้องการของระบบ ด้วยลักษณะเช่นนี้ จึงกลายเป็นปัญหาของการใช้งาน 2 แบบที่แตกต่างกัน

 

ลักษณะการใช้งานของสถานีปั๊มดังที่กล่าวมา ยังอาจสร้างความยุ่งยากในการบำรุงรักษาอีกด้วย เพื่อลดปัญหาปั๊มทั้งสองตัวควรเลือกให้มีลักษณะของใบพัดที่เหมือนกัน อาจมีขนาดหรือควาเร็วในการหมุนที่แตกต่างกัน แต่ว่าลักษณะของกราฟคุณลักษณะของปั๊มก็จะไม่ต่างกันมาก

               

อย่างไรก็ตามหากเหมาะสม แนะนำให้ใช้เป็น Vertical Turbine ปั๊มรูปแบบต่าง ๆ แทนสำหรับการใช้งานรูปแบบนี้